|
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสันป่ายาง
องค์การบริหารส่วนตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่เลขที่ 240 หมู่ที่ 2 ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยตำบลสันป่ายางตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมืองเชียงใหม่ ออกไปทางถนนสายเชียงใหม่ - ฝาง ห่างจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 42 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากอำเภอแม่แตง ประมาณ 17 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่และตำบลสะเมิงเหนือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
พิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS) ค่า E : 487224 ค่า N : 2106350
ตราสัญลักษณ์
เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 68.93 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 43,082 ไร่
จำนวนหมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลสันป่ายางมีหมู่บ้าน จำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านหนองบัว มี นายอดุลย์ แก้วกลาง ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 2 บ้านสันป่ายาง มี นายเฉลิมพล อุ่นใจคำ กำนัน
หมู่ที่ 3 บ้านสันป่าตึง มี นายแดง สุริยา ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 4 บ้านหนองก๋าย มี นายธงชัย เป็งมล ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 5 บ้านเอียก มี นายสุริยัน อินธรรม ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 6 บ้านผาแด่น มี นายวัน ปู่วัน ผู้ใหญ่บ้าน
ประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 5,297 คน แยกเป็นชาย 2,595 คน หญิง 2,702 คน
มีครัวเรือนทั้งหมด 1,824 ครัวเรือน โดยรายละเอียดแยกตามรายหมู่บ้าน ดังนี้
หมู่บ้าน |
ครัวเรือน |
ชาย |
หญิง |
รวม |
หมู่ที่ 1 บ้านหนองบัว |
189 |
209 |
208 |
417 |
หมู่ที่ 2 บ้านสันป่ายาง |
582 |
539 |
635 |
1,174 |
หมู่ที่ 3 บ้านสันป่าตึง |
330 |
340 |
376 |
716 |
หมู่ที่ 4 บ้านหนองก๋าย |
332 |
383 |
372 |
755 |
หมู่ที่ 5 บ้านเอียก |
327 |
1,036 |
1,013 |
2,049 |
หมู่ที่ 6 บ้านผาแด่น |
64 |
88 |
98 |
189 |
รวม |
1,824 |
2,615 |
2,713 |
5,328 |
จำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ
1. เด็กเล็ก (แรกเกิด - 12 ปี) จำนวน 456 คน แยกเป็นชาย 220 คน หญิง 236 คน
2. วัยรุ่น (13-18 ปี) จำนวน 222 คน แยกเป็นชาย 115 คน หญิง 107 คน
3. วัยทำงาน (19-59 ปี) จำนวน 3,584 คน แยกเป็นชาย 1,786 คน หญิง 1,798 คน
4. ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จำนวน 1035 คน แยกเป็นชาย 474 คน หญิง 561 คน
จำนวนประชากรแยกตามสัญชาติ
1. สัญชาติไทย จำนวน 1,704 คน แยกเป็นชาย 1,818 คน หญิง 3,522 คน
2. ผู้ที่มีส่วนชาติอื่น จำนวน 912 คน แยกเป็นชาย 894 คน หญิง 1,806 คน
สภาพทางสังคม
การศึกษา
ตำบลสันป่ายาง มีโรงเรียน ตั้งอยู่ในพื้นที่ จำนวน 2 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้
- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง (เปิดสอนในระดับชั้น ม.1 - ม.6)
1. โรงเรียนสันป่ายางวิทยาคม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
มีจำนวนเด็กนักเรียนทั้งสิ้น จำนวน 181 คน จำนวนครูทั้งสิ้น 20 คน
ผู้อำนวยการโรงเรียน นายเพิก พงษ์ไทย โทรศัพท์ 053-374609
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง (เปิดสอนในระดับชั้น ป.1 - ป.6)
1. โรงเรียนสันป่ายางวิทยาคาร ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
มีจำนวนเด็กนักเรียนทั้งสิ้น จำนวน 98 คน จำนวนครูทั้งสิ้น 7 คน
ผู้อำนวยการโรงเรียน นางสาวปาณิพัฒน์ อุปสาร โทรศัพท์ 053-374146
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
มีจำนวนเด็กนักเรียนทั้งสิ้น จำนวน 69 คน จำนวนครูทั้งสิ้น 7 คน
ผู้อำนวยการโรงเรียน นางสุพิศ ทนันไชย โทรศัพท์ 053-374464
สาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันป่าตึง
ตั้งอยู่ ณ บ้านสันป่าตึง หมู่ที่ 3 ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันป่าตึง นายประเสริฐ อุปนันท์ โทรศัพท์ 053-374228
ระบบเศรษฐกิจ
การเกษตร
ประขากรในเขตตำบลสันป่ายาง ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ
ได้แก่ ข้าว ถั่วเหลือง เงาะ และลำไย รายละเอียดดังนี้
ประเภทของพืชเศรษฐกิจ พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) จำนวนเกษตรกร (ราย)
1. ข้าวนาปี 2,209.50 ไร่ 770 ราย
2. ถั่วเหลือง 446.75 ไร่ 88 ราย
3. ข้าวนาปรัง 432.75 ไร่ 142 ราย
4. เงาะ 180 ไร่ 36 ราย
5. ลำไย 1,034.50 ไร่ 261 ราย
6. กล้วยน้ำว้า 102.75 ไร่ 28 ราย
7. ข้าวโพดหวาน 51 ไร่ 18 ราย
การประมง
ประชากรในเขตตำบลสันป่ายาง ประกอบอาชีพประมงทำการเลี้ยงปลาในบ่อน้ำ จำนวน 41 ราย รวม 44 บ่อ (เป็นข้อมูลตามระบบทะเบียนเกษตรกรมประมง)
การปศุสัตว์
ประเภทของการปศุสัตว์ จำนวนเกษตรกร (ราย) จำนวนสัตว์ (ตัว)
1. โคเนื้อ 34 288
2. กระบือ 1 7
3. สุกร 64 173
4. ไก่พื้นเมือง 372 8,042
5. เป็ดเทศ 30 403
6. นกกระทา 1 3,000
7. ช้าง 1 6
การบริการ
ร้านขายอาหาร 10 แห่ง
ร้านเสริมสวย 6 แห่ง
อู่ซ่อมรถ 5 แห่ง
การพาณิชย์
ตลาดสด 4 แห่ง
ร้านค้าต่าง ๆ 28 แห่ง
สถานีบริการน้ำมัน (ปั๊มน้ำมันหลอด/หยอดเหรียญ) 4 แห่ง
โรงสีข้าว 1 แห่ง
.........................................................................